CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 66% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Please be advised that our Client Portal is scheduled for essential maintenance this weekend from market close Friday 16th February, 2024, and should be back up and running before markets open on Sunday 18th February, 2024.

เรายินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าเรากำลังเตรียมพร้อมสำหรับการอัปเดต Client Portal เพื่อมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของคุณกับเรา
Client Portal จะไม่พร้อมให้คุณใช้งานตั้งแต่ตลาดปิดใน วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 และควรสำรองข้อมูลและทำงานก่อนตลาดเปิดให้บริการใน วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567

CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 66% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Search
Close this search box.

12 ดัชนีและรูปแบบการเทรดหุ้นที่สำคัญ

Descending triangle down trend candle stick pattern in stock market

สารบัญ

 

 

รูปแบบกราฟคืออะไร

 

การศึกษารูปแบบกราฟเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งเกี่ยวกับรูปแบบที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาในกราฟเมื่อเวลาผ่านไป หรือที่เรียกว่ารูปแบบกราฟในการเทรด

รูปแบบเหล่านี้เกิดในตลาดและประเภทสินทรัพย์หลายรูปแบบเมื่อแนวโน้มตลาดหยุดลงและเข้าสู่ระยะรวมฐาน รูปแบบกราฟเป็นหนทางที่จะช่วยให้คุณตัดสินได้ว่าราคาจะดำเนินไปในทิศทางเดิมเหมือนกับแนวโน้มเดิมหลังจากระยะรวมฐาน หรือว่าเปลี่ยนทิศทาง คุณยังสามารถคาดการณ์เป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไปจากรูปแบบได้อีกด้วย

คุณสามารถระบุรูปแบบกราฟได้ในหลายๆ กรอบเวลา ตั้งแต่กราฟหนึ่งนาที กราฟหนึ่งชั่วโมงและ 4 ชั่วโมง ไปถึงกราฟหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์และแม้แต่หนึ่งเดือน ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบกราฟสามารถเกิดขึ้นได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท ทั้งกราฟหุ้นรายตัว ดัชนีหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดตราสารหนี้และ รูปแบบกราฟ Forex นอกจากนี้ รูปแบบกราฟเกิดขึ้นมาตลอดในอดีต ดังนั้นจึงสามารถย้อนดูกราฟจากหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่หลายร้อยปีก่อนซึ่งสามารถระบุกราฟรูปแบบต่างๆ ได้

รูปแบบกราฟเหล่านี้เกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ในตลาดการเงินทุกรูปแบบและสามารถย้อนกลับไปดูในอดีตได้ คำถามต่อไปคือรูปแบบกราฟทำงานยังไง

 

รูปแบบกราฟทำงานยังไง

 

เหตุผลหลักที่ทำให้รูปแบบกราฟเป็นหนึ่งในวิธีวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมาจากหลักการพื้นฐานสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค

อย่างแรกคือหลักที่ว่าประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย พฤติกรรมราคาที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นซ้ำในช่วงเวลาปัจจุบันเสมอไป แต่ก็เป็นไปได้ที่เราจะหาตำแหน่ง ระบุและอาจทำกำไรได้จากรูปแบบราคาหรือรูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นในตลาดปัจจุบัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ารูปแบบที่เกิดขึ้นแล้วจะเกิดขึ้นซ้ำอีก

หลักการการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ ที่รูปแบบต่างใช้อ้างอิงเกี่ยวข้องกับหลักการแรก (ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย) เหตุผลที่ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยเป็นเพราะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนเดิมอยู่เสมอไม่ว่าจะเวลาไหนในแง่มุมตลาดการเงิน นั่นคือปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ขับเคลื่อนราคาตลาด ถึงแม้ว่าเศรษฐศาสตร์มหภาค ปัจจัยพื้นฐานและเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมราคา แต่ยังต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ความคิด อารมณ์และพฤติกรรมของนักเทรดและผู้ลงทุนรายย่อยรวมกันเป็นกลุ่มในการทำให้ราคาตลาดขึ้นหรือลง

ดังนั้น รูปแบบกราฟที่ใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงสามารถใช้การวิเคราะห์รูปแบบให้เป็นประโยชน์และนำไปคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

 

การทำความเข้าใจรูปแบบกราฟ

 

เพื่อให้เข้าใจรูปแบบกราฟได้อย่างถูกต้อง เราจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการแยกรูปแบบกราฟแบบต่างๆ และการส่งสัญญาณที่เป็นไปได้ว่าเอนเอียนไปทางขาขึ้นหรือขาลงในตลาดใดตลาดหนึ่ง แต่การเรียนรู้เรื่องรูปแบบกราฟนั้นยังไม่พอ เราต้องเข้าใจด้วยว่าทำไมถึงใช้รูปแบบนั้นได้ สิ่งสำคัญคือควรใส่ใจเหตุผลด้านจิตใจและพฤติกรรมที่รูปแบบกราฟในการเทรดใดๆ อาจเป็นรูปแบบขาขึ้นหรือขาลง ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบกราฟไม่ได้ให้แค่ข้อมูลความเอนเอียงในทิศทางกับนักวิเคราะห์หรือนักเทรดในตลาดที่ถูกวิเคราะห์หรือเทรด แต่ยังให้ข้อมูลเป้าหมายราคาที่เป็นไปได้จากรูปแบบกราฟเองด้วย

 

ทำไมรูปแบบกราฟถึงสำคัญ

 

รูปแบบกราฟสำคัญกับนักวิเคราะห์ทางเทคนิคและนักเทรดที่ใช้ข้อมูลทางเทคนิคเพราะว่าจะให้เค้าโครงที่ชัดเจนว่าควรตัดสินใจซื้อหรือขายในตลาดนั้นๆ อย่างไร นอกจากนั้น การวิเคราะห์รูปแบบกราฟทำให้สามารถสร้างการตั้งค่าการเทรดที่สามารถระบุราคาเป้าหมาย และจุดอ(ซึ่งคือการวางจุดตัดขาดทุน) ได้อีกด้วย

จากมุมมองของนักเทรดรายย่อย คุณสามารถเรียนรู้รูปแบบกราฟในการเทรดให้เหมือนมืออาชีพได้ ซึ่งหมายความว่านักเทรดรายย่อยก็สามารถมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบุและใช้รูปแบบกราฟ และจำแนกประเภทรูปแบบกราฟได้ในระดับเดียวกับนักเทรดสถาบัน

รูปแบบกราฟนี้สามารถใช้ได้กับทั้งกราฟหุ้นรายตัว รูปแบบดัชนีหุ้น รูปแบบกราฟ Forex และสินทรัพย์ในตลาดการเงินหรือประเภทสินทรัพย์ต่างๆ มากมาย สิ่งที่จำเป็นคือตลาดจะต้องมีสภาพคล่องและจะต้องไม่ได้รับอิทธิพลจากฝั่งอุปสงค์หรืออุปทานก็ตาม

 

การรวมฐานในการเทรดคืออะไร

 

การรวมฐานในการเทรดคือตอนที่ตลาดไม่มีทิศทางที่แน่นอนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในกรอบเวลา มากกว่าที่จะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ไม่ว่าจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ระยะรวมฐานเป็นช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีแนวโน้ม หรืออยู่ในกรอบ หรือมีแนวโน้มไม่แน่นอนอยู่ระหว่าง ระดับแนวรับและแนวต้าน (หรือบริเวณนั้นๆ) รูปแบบกราฟส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากตลาดมีแนวโน้มขาขึ้น (กระทิง) หรือว่าขาลง (หมี) แล้วจากนั้นเข้าสู่ระยะรวมฐาน ตลาดมีแนวโน้มที่จะทะลุกรอบการรวมฐาน ไม่ว่าจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ขึ้นอยู่กับลักษณะการรวมฐานและการเกิดรูปแบบกราฟ

 

ประเภทรูปแบบกราฟ

 

ตอนนี้เราได้เรียนรู้แล้วว่ารูปแบบกราฟคืออะไรและพื้นฐานวิธีการใช้ พร้อมกับภาษาที่ใช้ควบคู่ไปกับรูปแบบเหล่านี้ เราจะไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องประเภทของรูปแบบและดูว่ารูปแบบกราฟใช้ทำอะไร เราทำรายการประเภทรูปแบบกราฟบางส่วนไว้ดังนี้:

  • หัวและไหล่
  • หัวและไหล่กลับด้าน
  • ดับเบิลท็อป
  • ดับเบิลบอททอม
  • ทริปเปิลท็อป
  • ทริปเปิลบอททอม
  • จานหงาย
  • ลิ่มชี้ขึ้น
  • ลิ่มชี้ลง
  • ชายธงหรือธง
  • สามเหลี่ยมขาขึ้น
  • สามเหลี่ยมขาลง

 

รูปแบบกราฟเหล่านี้อยู่ในกลุ่มรูปแบบไหน

 

รูปแบบกราฟในการเทรดหลักมีสามประเภท: รูปแบบกลับตัว รูปแบบกราฟต่อเนื่องและรูปแบบกราฟที่เป็นไปได้ทั้งสองทาง เราจะมาเรียนรู้ไปทีละรูปแบบเพื่อดูว่าจะใช้รูปแบบกราฟในการเทรดได้ยังไง

 

รูปแบบกราฟกลับตัว

 

รูปแบบกราฟกลับตัวคือรูปแบบกราฟที่เป็นที่รู้จักเมื่อเวลาผ่านไปเพื่อใช้บ่งชี้แนวโน้มขาขึ้น (ตลาดกระทิง) หรือแนวโน้มขาลง (ตลาดหมี) นั้นจบลงแล้ว และกราฟมีแนวโน้มที่จะกลับตัวไปอีกทิศทาง

ยกตัวอย่างเช่นถ้าตลาดอยู่ในขาขึ้นและจากนั้นเข้าสู่ระยะรวมฐาน เราก็จะใช้รูปแบบที่เราจดจำเอาไว้ระบุว่ารูปแบบนั้นเป็นรูปแบบกราฟที่มีโอกาสกลับตัว ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มขาขึ้นนั้นจะจบลงแล้ว ถ้าคุณถือสถานะซื้อ (ซื้อในตลาดไปแล้ว) คุณอาจพิจารณาออกจากสถานะซื้อ หรือเมื่อรูปแบบกราฟกลับตัวส่งสัญญาณปรับฐาน คุณอาจพิจารณาการถือสถานะขาย (ขาย) ได้

ในทางกลับกัน ถ้าเป็นแนวโน้มขาลงและตลาดเป็นรูปแบบกราฟกลับตัว ถ้าคุณถือสถานะขายอยู่ (ขายในตลาดไปแล้ว) คุณอาจพิจารณาออกจากสถานะขาย อีกทางเลือกก็คือคุณอาจพิจารณาเข้าถือสถานะซื้อ (ซื้อ)

กราฟสามารถมองเป็นรูปแบบดับเบิลท็อปได้ บ่งชี้ว่าขาขึ้นมีแนวโน้มจะหยุดลงและราคาน่าจะต่ำลงกว่าเดิม ในทางกลับกัน รูปแบบทริปเปิลบอททอมจะเกิดในแนวโน้มขาลง และบ่งชี้ว่าราคาอาจกลับตัวสูงขึ้น

 

รูปแบบกราฟต่อเนื่อง

 

รูปแบบกราฟต่อเนื่องคือเวลาที่ตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง จากนั้นก็เข้าสู่ระยะรวมฐาน เมื่อเราแยกประเภทรูปแบบได้ เราจะสามารถระบุรูปแบบกราฟต่อเนื่องซึ่งบ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ตลาดจะดำเนินไปต่อตามทิศทางแนวโน้มกระทิงหรือหมีที่เป็นอยู่ (ขาขึ้นหรือขาลงตามลำดับ) จากนั้นนักเทรดจะสร้างกลยุทธ์ตามความน่าจะเป็นของความต่อเนื่องของแนวโน้มนั้น เมื่อรูปแบบกราฟต่อเนื่องส่งสัญญาณที่เหมาะสมแล้ว

ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบชายธงหรือธง คุณคงคาดการณ์ว่าราคาจะดำเนินไปตามทิศทางของแนวโน้มเดิม ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากรูปแบบส่งสัญญาณว่าจบระยะรวมฐานแล้ว

 

รูปแบบกราฟที่เป็นไปได้ทั้งสองทาง

 

รูปแบบกราฟที่เป็นไปได้ทั้งสองทางคือกราฟที่อาจไปต่อในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาจเป็นทั้งรูปแบบกราฟกลับตัวและ/หรือรูปแบบกราฟต่อเนื่อง โดยจะขึ้นอยู่กับว่ากราฟมีรูปร่างยังไงและราคาทะลุออกจากกรอบแนวโน้มยังไง รูปแบบกราฟเหล่านี้มักจะไม่ชัดเจนนัก ถ้าเทียบกับรูปแบบกราฟกลับตัวและรูปแบบกราฟต่อเนื่อง โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะทะลุสูงขึ้นหรือต่ำลงหลังจากจบระยะรวมฐาน

ด้านล่างเราจะเห็นว่ารูปแบบกราฟจัดอยู่ในกลุ่มไหน:

ชื่อรูปแบบกราฟ กลุ่มรูปแบบกราฟ
หัวและไหล่ธรรมดา กลับตัว
หัวและไหล่กลับด้าน กลับตัว
ดับเบิลท็อป กลับตัว
ดับเบิลบอททอม กลับตัว
ทริปเปิลท็อป กลับตัว
ทริปเปิลบอททอม กลับตัว
จานหงาย กลับตัว
ลิ่มชี้ขึ้น กลับตัวหรือต่อเนื่อง (เป็นไปได้ทั้งสองทาง)
ลิ่มชี้ลง กลับตัวหรือต่อเนื่อง (เป็นไปได้ทั้งสองทาง)
ชายธงหรือธง ต่อเนื่อง
สามเหลี่ยมขาขึ้น ต่อเนื่อง
สามเหลี่ยมขาลง ต่อเนื่อง

 

รูปแบบกราฟแบบไหนที่ถูกใช้มากที่สุด

 

รูปแบบกราฟที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่รูปแบบหัวและไหล่ ดับเบิลท็อปและดับเบิลบอททอม ทริปเปิลท็อปและทริปเปิลบอททอม รูปแบบจานหงาย รูปแบบลิ่ม รูปแบบชายธงหรือธง รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้นและขาลงและกราฟแท่งเทียนที่แยกไปอีกประเภทหนึ่ง

เราแนะนำให้คุณทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีการแยกรูปแบบเหล่านี้เพื่อพัฒนาการเทรดของคุณ

 

รูปแบบหัวและไหล่

 

มีรูปแบบหัวและไหล่อยู่สองแบบ: หัวและไหล่ธรรมดาและหัวและไหล่กลับด้าน

หัวและไหล่ธรรมดา: รูปแบบนี้เกิดขึ้นที่จุดสูงสุดของขาขึ้น

  • ตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นโดยราคาสูงขึ้นกว่าจุดสูงสุดเดิมและสูงขึ้นกว่าจุดต่ำสุด
  • ตลาดย่อลงมาหลังจากขึ้นไปที่หัว จากนั้นก็ลงต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม ต่ำกว่ายอดของหัวซึ่งจะกลายเป็นไหล่ที่สอง
  • ระหว่างจุดต่ำสุดทั้งสองข้างของจุดสูงสุดซึ่งคือหัว เราจะลากเส้นผ่านด้านล่างของหัว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “เส้นคอ”
  • หลังจากไหล่ที่สอง ถ้าตลาดทะลุไปใต้ “เส้นคอ” จะเป็นการยืนยันว่าเป็นรูปแบบหัวและไหล่ธรรมดา
  • เป้าหมายราคาที่เป็นไปได้ต่ำลงหรือราคาเป้าหมายขั้นต่ำ (MPO) คือระยะห่างในแนวตั้งจากยอดของหัวลงไปจนถึง “เส้นคอ” ระยะทางนี้ลากลงมาจากจุดที่ราคาทะลุ “เส้นคอ”
  • บางครั้งคุณจะเห็นราคาดีดกลับขึ้นไปสูงขึ้นเพื่อทดสอบ “เส้นคอ” หรือที่เรียกว่า “การย้อนกลับ”

หัวและไหล่กลับด้าน: หัวและไหล่กลับด้านเป็นรูปแบบกลับบ้านจากรูปแบบหัวและไหล่ โดยรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นในจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อรูปแบบทะลุ “เส้นคอ” MPO จะสูงขึ้น

 

รูปแบบดับเบิลท็อปและดับเบิลบอททอม

 

ดับเบิลท็อป: เมื่อคุณมองหารูปแบบดับเบิลท็อป คุณต้องระบุแนวโน้มขาขึ้นให้ได้ก่อน

  • ราคาจะสูงขึ้นและย่อตัวลงต่ำ
  • จากนั้นราคาจะเด้งสูงขึ้นอีก ซึ่งอาจสูงเท่าหรือใกล้เคียงกับจุดที่สูงที่สุดก่อนหน้านี้
  • จากนั้นราคาจะตกลงต่ำอีกครั้ง และถ้าราคาทะลุลงไประหว่างจุดสูงสุดสองจุด แสดงว่ารูปแบบดับเบิลท็อปสมบูรณ์แล้ว
  • เป้าหมายราคาที่เป็นไปได้ต่ำลงไป (MPO) คือระยะห่างในแนวตั้งจากดับเบิลท็อปลงมาถึงจุดต่ำสุดระหว่างยอดทั้งสอง จากนั้นให้ลากลงไปต่ำกว่าจุดต่ำสุด

ดับเบิลบอททอม: ดับเบิลบอททอมคือรูปแบบที่ตรงกันข้ามกับดับเบิลท็อป ตลาดมีแนวโน้มขาลง จากนั้นเกิดจุดต่ำจุดสองจุดในราคาใกล้เคียงกัน ถ้าตลาดทะลุขึ้นมาสูงกว่าจุดต่ำสุดทั้งสอง จะเป็นการยืนยันรูปแบบดับเบิลบอททอม

 

รูปแบบทริปเปิลท็อปและทริปเปิลบอททอม

 

ทริปเปิลท็อป: ทริปเปิลท็อปมีผลแบบเดียวกับรูปแบบดับเบิลท็อป แต่ว่ามีจุดสูงสุดสามจุดที่ความสูงใกล้เคียงกัน รูปแบบนี้จะสมบูรณ์เมื่อราคาทะลุลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดระหว่างยอดสามยอด

ทริปเปิลบอททอม: ทริปเปิลบอททอมเป็นรูปแบบตรงกันข้ามกับทริปเปิลท็อปและเหมือนกับดับเบิลบอททอม โดยจะมีจุดต่ำสุดสามจุดในระดับที่ใกล้เคียงกัน รูปแบบนี้จะสมบูรณ์เมื่อราคาทะลุสูงกว่าจุดที่สูงที่สุดระหว่างจุดต่ำสุดทั้งสาม

 

รูปแบบจานหงาย

รูปแบบจานหงายพบได้ตอนสิ้นสุดแนวโน้มขาลงและสามารถระบุได้จากชุดราคาต่ำสุดที่เป็นรูป “ตัวยู” จานหงายมักจะพบเมื่อสิ้นสุดแนวโน้มขาลงระยะยาวและส่งสัญญาณการกลับตัวของราคาในระยะยาว

 

รูปแบบลิ่ม

 

Rising and Falling Wedge chart pattern formation - cc

 

ลิ่มชี้ขึ้น (รูปแบบต่อเนื่อง): รูปแบบลิ่มชี้ขึ้นเกิดขึ้นเมื่อราคาตลาดสูงขึ้น แต่จุดต่ำสุดใหม่เคลื่อนที่สูงขึ้นในมุมที่ชันกว่าจุดสูงสุดใหม่ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบลิ่มชี้ขึ้น เราคาดการณ์จากรูปแบบนี้ได้ว่าตลาดจะทะลุต่ำกว่าเส้นแนวโน้มด้านล่าง ส่งสัญญาณถึงการเคลื่อนไหวที่ต่ำลง ถ้าตลาดก่อนหน้านี้เป็นแนวโน้มขาลง แสดงว่านี่เป็นรูปแบบต่อเนื่อง

ลิ่มชี้ขึ้น (รูปแบบกลับตัว): เป็นรูปแบบลิ่มชี้ขึ้นเหมือนเดิม แต่เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น รูปแบบลิ่มชี้ขึ้นส่งสัญญาณว่ามีโอกาสเคลื่อนตัวต่ำลงเมื่อราคาทะลุรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการกลับตัวของแนวโน้มขาขึ้น

ลิ่มชี้ลง (รูปแบบต่อเนื่อง): ลิ่มชี้ลงเป็นรูปแบบตรงกันข้ามกับลิ่มชี้ขึ้น รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตลาดเคลื่อนตัวต่ำลง โดยราคาต่ำลงกว่าจุดสูงสุดเดิมเคลื่อนตัวลงมาในมุมที่ชันกว่าจุดต่ำกว่าจุดต่ำสุด เราคาดการณ์จากรูปแบบลิ่มชี้ลงได้ว่าราคาตลาดจะสูงขึ้นเหนือเส้นแนวโน้มด้านล่างที่ชันกว่า ส่งสัญญาณว่าจะเคลื่อนตัวสูงขึ้น ถ้าตลาดก่อนหน้านี้เป็นแนวโน้มขาขึ้น แสดงว่านี่เป็นรูปแบบต่อเนื่อง

ลิ่มชี้ลง (รูปแบบกลับตัว): ลิ่มชี้ลงเหมือนกับลิ่มชี้ลงด้านบน แต่เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง ลิ่มชี้ลงส่งสัญญาณว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะเคลื่อนสูงขึ้นเมื่อทะลุรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการกลับตัวของแนวโน้มขาลง

 

รูปแบบชายธงหรือธง

  • รูปแบบชายธงหรือธงเป็นรูปแบบต่อเนื่องและเป็นกราฟระยะสั้นที่พบได้บ่อยและเชื่อถือได้ที่สุด
  • รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อราคาขึ้นสูงหรือต่ำลงในแนวดิ่ง
  • การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วนี้ทำให้เกิดเป็น “เสาธง”
  • จากนั้นราคาจะเข้าสู่ระยะรวมฐาน ซึ่งการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วก่อนหน้านี้แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย
  • รูปร่างของรูปแบบการรวมฐานจะถูกมองว่าเป็นธง ถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีเส้นขนานสองเส้นทั้งสองฝั่งของการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วในตอนต้น
  • รูปแบบจะเป็นชายธง ถ้ามีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม
  • ถ้าราคาทะลุจากรูปแบบชายธงหรือธงในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในตอนแรก แสดงว่า MPO คือความสูงของเสาธงที่ลากสูงขึ้นหรือต่ำลง

 

รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้นและขาลง

 

สามเหลี่ยมขาขึ้น

  • รูปแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น หลังจากราคาเข้าสู่ระยะรวมฐาน
  • ระยะรวมฐานนั้นสามารถดูได้จากสามเหลี่ยมที่มีจุดต่ำสุดไล่สูงขึ้นมา แต่ราคาสูงสุดอยู่ที่ราคาเดียวกัน
  • เราคาดการณ์ได้ว่าระยะรวมฐานจะสูงขึ้นกว่าจุดสูงสุดเดิม
  • MPO สามารถวัดได้จากส่วนที่กว้างที่สุดของสามเหลี่ยมขาขึ้น (ฐานสามเหลี่ยม) ลากขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของสามเหลี่ยม

Ascending triangle pattern figure technical analysis

 

สามเหลี่ยมขาลง: รูปแบบนี้มีผลตรงกันข้ามกับสามเหลี่ยมขาขึ้น เมื่อราคาทะลุลงไปต่ำกว่าเส้นแนวรับของด้านล่างสามเหลี่ยมขาลง แนวโน้มขาลงจะดำเนินต่อไป MPO ใช้วิธีคิดเหมือนกับสามเหลี่ยมขาขึ้น

 

Descending triangle down trend candle stick pattern in stock market

 

เราได้ดูรูปแบบกราฟที่เป็นที่นิยมที่สุดและได้สอนวิธีระบุรูปแบบต่างๆ กันไปแล้ว คุณควรจะสามารถตัดสินทิศทางความเป็นไปได้ของตลาดและสามารถคำนวณเป้าหมายราคาจากรูปแบบเหล่านี้ได้ เราขอให้คุณโชคดีกับการเทรดด้วยรูปแบบกราฟต่างๆ กับ Hantec Markets

Screen and display of stock market, quotes and tickers

คว้าโอกาสของคุณ

ซื้อขายในตลาดขาขึ้นหรือขาลง
สเปรดทองคำเริ่มต้นที่ 0.7 pip
ราคาที่เหนือกว่าตลอด 24 ชั่วโมง
โพสล่าสุด
พร้อมที่จะ เริ่มซื้อขาย แล้วหรือยัง?
โพสต์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิกบล็อกของเรา
สำหรับข่าวสารล่าสุดและแหล่งข้อมูลการซื้อขาย โปรดส่งตรงไปที่กล่องจดหมายของคุณ
rotator.png

เรากำลังพาท่านไปสู่ Hantec Trader ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเรา

โปรดทราบว่า Hantec Trader ไม่รองรับลูกค้าจากสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่ถูกจำกัดอื่นๆ

Line-website.png