การเทรด CFD คืออะไร
เขียนโดย Aaron Akwu, Head of Education Hantec Markets
สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs) คืออะไร
CFDs หรือสัญญาซื้อขายส่วนต่างเป็นอนุพันธ์ทางการเงินประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เทรดเดอร์เก็งกำไรการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ต่างๆ โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้น สินทรัพย์เหล่านี้อาจรวมถึงหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน ดัชนี และอื่นๆ
CFDs เป็นที่นิยมในหมู่เทรดเดอร์เนื่องจากมีเลเวอเรจที่สูง ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถสร้างผลตอบแทนจำนวนมากจากการลงทุนเพียงเล็กน้อย แต่สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าเลเวอเรจสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุนด้วยเช่นกัน ดังนั้น เทรดเดอร์จึงต้องเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องก่อนเข้าร่วมการเก็งกำไรจากการซื้อขายสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs)

ประวัติผู้ให้บริการการซื้อขายสัญญาส่วนต่าง (CFDs)
CFDs หรือสัญญาซื้อขายส่วนต่าง ถูกนำมาเทรดครั้งแรกในช่วงต้นปี 1990 โดย IG Group บริษัทที่ให้บริการทางการเงินในลอนดอน เพื่อเป็นช่องทางให้เทรดเดอร์เก็งกำไรการเคลื่อนไหวของราคาของตราสารทางการเงินต่างๆ โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ เริ่มแรกใช้โดยเทรดเดอร์มืออาชีพและนักลงทุนสถาบันเป็นหลัก CFD เริ่มให้บริการอย่างกว้างขวางมากขึ้นสำหรับเทรดเดอร์รายย่อยในช่วงต้นปี 2000 เนื่องจากโบรกเกอร์ออนไลน์เริ่มให้บริการแพลตฟอร์มการซื้อขายสัญญาส่วนต่าง (CFDs) การเข้าถึงที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ความนิยมที่มากขึ้นในหมู่เทรดเดอร์รายย่อย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการใช้ CFDs เพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยขณะนี้หลายประเทศมีตลาดที่มีการควบคุมสำหรับการเทรด CFDs แล้ว แม้จะมีข้อโต้แย้งอยู่บ้าง แต่เทรดเดอร์ยังใช้ CFDs กันอย่างแพร่หลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการเทรดตราสารอนุพันธ์เพื่อให้ได้รับความเสี่ยงจากตลาด
ข้อดีของการเทรด CFDs
-
เลเวอเรจ (Leverage): เลเวอเรจในสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs) ช่วยให้เทรดเดอร์ควบคุมสถานะขนาดใหญ่ด้วยเงินทุนจำนวนค่อนข้างน้อย ซึ่งทำได้โดยการยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อเพิ่มขนาดของการเทรดตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ต้องการเทรดคู่สกุลเงิน EUR/USD มูลค่า 100,000 ดอลลาร์โดยใช้เลเวอเรจ 1:100 เทรดเดอร์จะต้องมีเงิน 1,000 เป็นหลักประกันในบัญชีเพื่อเปิดการเทรด ซึ่งหมายความว่า ทุก 1 ดอลลาร์ในบัญชีของเทรดเดอร์สามารถควบคุม 100 ดอลลาร์ในตลาดได้
อีกตัวอย่างหนึ่งที่ใช้สินค้าโภคภัณฑ์ สมมติว่าราคาตลาดปัจจุบันของน้ำมันดิบอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทรดเดอร์จะต้องมีหลักประกันในบัญชีเพียง 3,000 ดอลลาร์เพื่อเปิดการเทรดน้ำมันดิบ 1,000 บาร์เรล โดยใช้เลเวอเรจ 1:20 ซึ่งหมายความว่า ทุก 1 ดอลลาร์ในบัญชีของเทรดเดอร์สามารถควบคุมน้ำมันดิบมูลค่า 20 ดอลลาร์ในตลาดได้
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าเลเวอเรจจะไปเพิ่มทั้งกำไรและขาดทุน ดังนั้น หากการเทรดเป็นไปตามที่คาดไว้ เทรดเดอร์มีโอกาสทำกำไรได้มากด้วยการลงทุนเพียงเล็กน้อย แต่ถ้าการเทรดสวนทางกับที่คาดไว้ เทรดเดอร์อาจมีโอกาสขาดทุนจำนวนมากได้เช่นกัน
- การขายชอร์ต (Short Selling): CFDs ช่วยให้เทรดเดอร์ทำการยืมหุ้นมาขายเพื่อลงทุน ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถทำกำไรได้ในตลาดขาลง ตัวอย่างเช่น ถ้าหากเทรดเดอร์คิดว่าหุ้นมีมูลค่าสูงเกินไปและดูเหมือนว่าจะมีมูลค่าลดลง พวกเขาสามารถทำการยืมหุ้นมาขาย (Short Selling) เพื่อทำกำไรเมื่อราคาลดลงได้
- ตลาดที่หลากหลาย (Wide Range of Markets): CFDs ช่วยให้เทรดเดอร์เข้าถึงตลาดที่หลากหลาย รวมถึงหุ้น ดัชนี สินค้าโภคภัณฑ์ และสกุลเงินต่างๆ ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์สามารถกระจายพอร์ตการลงทุนและใช้ประโยชน์จากสภาวะตลาดที่แตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์สามารถลงทุนใน ดัชนีหุ้น CFD ในขณะที่เทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่างของทองคำ (Trading gold CFDs)
- ต้นทุนต่ำ (Low Cost): โดยทั่วไปแล้ว CFDs จะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการเทรดแบบดั้งเดิม เช่น การซื้อและขายหุ้น เราจะพูดถึงประเภทของต้นทุนใน CDFs ในหัวข้อถัดไป
- ความยืดหยุ่น (Flexibility): CFDs ช่วยให้เทรดเดอร์มีความยืดหยุ่นในแง่ของขนาดการเทรดและการดำเนินการ ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์สามารถเข้าหรือออกจากการเทรดได้ตลอดเวลาและสามารถเทรดได้มากหรือน้อยตามที่ต้องการ
- ไม่ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ (No Ownership): การซื้อขายสัญญาส่วนต่าง CFDs เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ ดังนั้นเทรดเดอร์จึงไม่ต้องกังวลถึงความรับผิดชอบเพิ่มเติมที่มาพร้อมกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดเก็บหรือค่าธรรมเนียมอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์
การเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง DFDs ด้วยสถานะซื้อและสถานะขาย
- คำสั่งสถานะซื้อ (Buy/Long Position) คือคำสั่งซื้อสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง ณ ราคาตลาดปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์เชื่อว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร พวกเขาสามารถวางคำสั่งสถานะซื้อ (Buy/Long Position) คู่เงินดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ในการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่างได้ หากราคาตลาดของคู่เงินดอลลาร์สหรัฐ/ยูโรเพิ่มขึ้น นักเทรดจะทำกำไรได้
- คำสั่งสถานะขาย (Sell/Short Position) คือคำสั่งขายสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง ณ ราคาตลาดปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น หากเทรดเดอร์เชื่อว่าเงินเยนของญี่ปุ่นจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ออสเตรเลีย พวกเขาสามารวางคำสั่งขาย (Sell/Long Position) คู่เงินเยนญี่ปุ่น/ดอลลาร์ออสเตรเลีย ในการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่างได้ หากราคาตลาดของคู่เงินเยนญี่ปุ่น/ดอลลาร์ออสเตรเลียลดลง เทรดเดอร์จะทำกำไรได้

คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order)
คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order) คือประเภทของคำสั่งที่วางไว้กับโบรกเกอร์เพื่อซื้อ (Buy) หรือขาย (Sell) ตราสารทางการเงิน (Financial Instrument) ในราคาที่กำหนดในอนาคต เทรดเดอร์ใช้คำสั่งเหล่านี้เพื่อเข้าหรือออกจากการเทรดที่ระดับราคาหนึ่ง แทนที่จะเป็นราคาตลาดปัจจุบัน
คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order) มีหลายประเภทที่สามารถใช้ในการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง CFDs ได้ รวมถึงคำสั่งต่อไปนี้:
- Buy Limit: คำสั่งซื้อตราสารทางการเงินในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน.
- Sell Limit: คำสั่งขายตราสารทางการเงินในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
- Buy Stop: คำสั่งซื้อตราสารทางการเงินในราคาที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
- Sell Stop: คำสั่งขายตราสารทางการเงินในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
คำสั่งซื้อขายล่วงหน้า (Pending Order) อาจมีประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์เนื่องจากอนุญาตให้เข้าหรือออกจากการเทรดโดยอัตโนมัติเมื่อตรงตามเงื่อนไขบางอย่างแทนที่จะต้องคอยติดตามตลาดอย่างต่อเนื่องและออกคำสั่งซื้อขายด้วยตนเอง
ต้นทุนในการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs) มีอะไรบ้าง
- สเปรด (Spread): สเปรดคือความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ (Bid Price) และราคาเสนอขาย (Ask Price) ของสัญญาซื้อขายส่วนต่างหนึ่งๆ ตัวอย่างเช่น หากราคาเสนอซื้อของ CFD หนึ่งๆ คือ 50 ดอลลาร์ และราคาเสนอขายคือ 51 ดอลลาร์ สเปรดจะเท่ากับ 1 ดอลลาร์ สเปรดอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน ดัชนี และอื่นๆ ที่ทำการเทรดและการบริการของโบรกเกอร์
ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน (Swap): คือกระบวนการที่มีการแลกเปลี่ยนเงินทุนระหว่างผู้ซื้อหรือผู้ขายสองรายเพื่อให้เป็นไปตามข้อผูกพันตามสัญญาในระยะสั้น กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการที่ฝ่ายหนึ่งโอนเงินจำนวนหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแลกกับผลตอบแทนจากเงินกู้ที่ตกลงไว้ ผลตอบแทนนี้อ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งโดยทั่วไปกำหนดโดยธนาคารกลางของประเทศที่ทำธุรกรรม Swap ครอบคลุมต้นทุนการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืนได้ เช่น การจ่ายอัตราดอกเบี้ยหรือต้นทุนการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
หากถือสัญญาซื้อขายส่วนต่าง CFDs ไว้ข้ามคืน เทรดเดอร์อาจถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางการเงิน ตัวอย่างเช่น ถ้าเทรดเดอร์ซื้อ CFD ของหุ้นหนึ่งๆ ด้วยเลเวอเรจ 1:100 และถือไว้ข้ามคืน เทรดเดอร์อาจถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางการเงิน 0.1% ของมูลค่าการเทรดนั้นๆ
- ค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Commission): โบรกเกอร์บางรายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยไม่คำนึงว่าการเทรดนั้นเป็นการซื้อหรือขาย ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 5 ดอลลาร์สำหรับการเทรด CFD แต่ละครั้ง
- ค่าธรรมเนียมการไม่ใช้งานบัญชี (Inactivity Fee): โบรกเกอร์บางรายอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการไม่ใช้งานบัญชีหากเทรดเดอร์ไม่ได้ทำการเทรดใดๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น โบรกเกอร์อาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 10 ดอลลาร์ต่อเดือน หากเทรดเดอร์ไม่ได้ทำการเทรดเลยเป็นระยะเวลา 6 เดือน
สินทรัพย์อะไรบ้างที่คุณสามารถเทรดกับ CFDs
คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency): โบรกเกอร์บางรายให้บริการเทรด CFDs สำหรับคริปโทเคอร์เรนซี เช่น Bitcoin และ Ethereum ทำให้เทรดเดอร์สามารถเก็งกำไรกับการเคลื่อนไหวของราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ได้
ชั่วโมงการเทรดตราสาร CFD
ชั่วโมงการเทรดตราสาร CFD แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิงของอนุพันธ์ (Underlying Asset) ที่มีการเทรด ด้านล่างนี้คือรายละเอียดชั่วโมงการเทรดสำหรับตลาด CFD ที่ได้รับความนิยมสูงสุด
CFDs หุ้น: ชั่วโมงการเทรดสำหรับ CFDs ของหุ้นมักจะเหมือนกับชั่วโมงการเทรดสินทรัพย์อ้างอิงของอนุพันธ์ (Underlying Asset) ตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และดัชนีแนสแด็ก (NASDAQ) มีชั่วโมงการเทรดระหว่าง 13:30 น. ถึง 21:00 น. GMT ดังนั้น CFDs ของหุ้นอ้างอิงจากการแลกเปลี่ยนเหล่านี้จะมีชั่วโมงการเทรดในช่วงเวลานี้เช่นกัน
CFDs สกุลเงิน: CFDs ของสกุลเงินสามารถเทรดได้ตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ เนื่องจากตลาด forex เปิดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันอาทิตย์ เวลา 22.00 น. GMT ถึงวันศุกร์ เวลา 21.00 น. GMT
CFD สินค้าโภคภัณฑ์: CFDs สินค้าโภคภัณฑ์มีการขยายเวลาเทรด เนื่องจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เปิดให้เทรดเกือบ 24 ชั่วโมงต่อวัน ตัวอย่างเช่น ชั่วโมงการการซื้อขายแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Trading Hours) สำหรับน้ำมันดิบในตลาดหลักทรัพย์ CME Globex คือตั้งแต่ 23.00 น. ถึง 22.15 น. GMT
CFD ดัชนี: CFDs ดัชนีอิงตามประสิทธิภาพของดัชนีตลาดหุ้นและมีชั่วโมงการเทรดใกล้เคียงกับ CFDs หุ้น ตัวอย่างเช่น ดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500) ซึ่งอ้างอิงจากตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) มีชั่วโมงการเทรดอยู่ที่ระหว่าง 14:30 น. ถึง 21:00 น. GMT

เริ่มต้นการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFDs) ได้อย่างไร
- เลือกโบรกเกอร์ CFDs: คุณจะต้องค้นหาโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียง เช่น Hantec Markets ที่ให้บริการเทรด CFDs มองหาโบรกเกอร์ที่ควบคุมโดยหน่วยงานทางการเงินที่มีชื่อเสียงที่มีแพลตฟอร์มการเทรดที่เป็นมิตรต่อผู้ใช้
- เปิดบัญชีเทรด CFDs: เมื่อเลือกโบรกเกอร์แล้ว คุณจะต้องเปิดบัญชีและผ่านขั้นตอนการตรวจสอบของโบรกเกอร์ ซึ่งอาจรวมถึงการให้ข้อมูลส่วนบุคคลและหลักฐานยืนยันตัวตน
- เติมเงินเข้าบัญชีของคุณ: คุณจะต้องฝากเงินเข้าบัญชีของคุณเพื่อเริ่มการเทรด โบรกเกอร์ส่วนใหญ่ยอมรับวิธีการฝากเงินที่หลากหลาย เช่น การฝากผ่านบัตรเครดิต/เดบิต และการโอนเงินผ่านธนาคาร
- เลือกสินทรัพย์อ้างอิง: คุณจะต้องเลือกสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เพื่อทำการเทรด ซึ่งอาจเป็นหุ้น สินค้าโภคภัณฑ์ สกุลเงิน หรือดัชนี
- ส่งคำสั่งเทรดโดยใช้แพลตฟอร์มการเทรด CFD: เมื่อคุณเลือกสินทรัพย์อ้างอิงแล้ว คุณสามารถส่งคำสั่งซื้อหรือขายสินทรัพย์ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเชื่อว่าราคาของหุ้นจะสูงขึ้น คุณจะส่งคำสั่ง “Buy – ซื้อ” ถ้าคุณเชื่อว่าราคาของหุ้นจะลดลง คุณจะส่งคำสั่ง “Sell – ขาย”
- ติดตามการเทรดของคุณ: คุณจะต้องติดตามการเทรดของคุณ และทำการปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาของสินทรัพย์อ้างอิงเคลื่อนไหวตามที่คุณต้องการ คุณอาจต้องพิจารณาปิดสถานะเพื่อล็อกผลกำไรของคุณ ถ้าราคาเคลื่อนไหวสวนทางกับการคาดการณ์ของคุณ คุณอาจต้องพิจารณาปิดสถานะของคุณเพื่อจำกัดการขาดทุน
ตัวอย่างการเทรดสัญญาซื้อขายส่วนต่าง CFDs
การเทรดที่ได้กำไร
- การเทรดสถานะซื้อ (Long Trade): ถ้าเทรดเดอร์ CFD คนนั้นเชื่อว่ามูลค่าของดอลลาร์สหรัฐจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร เทรดเดอร์จะเปิดการเทรด CFD โดยการซื้อ (Buy) 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ที่ราคา 1.20 หากราคาของดอลลาร์สหรัฐ/ยูโรเพิ่มขึ้นเป็น 1.25 เทรดเดอร์จะทำกำไรได้ 500 (1.25 – 1.20) x 10,000 = 500 ดอลลาร์สหรัฐ
- การเทรดสถานะขาย (Short Trade): ถ้าเทรดเดอร์ CFD คนนั้นเชื่อว่าราคาทองคำจะลดลง เทรดเดอร์จะเปิดการเทรด CFD โดยการขาย (Sell) ทองคำ 100 ทรอยออนซ์ที่ราคา 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาทองคำตกลงไปที่ 1,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เทรดเดอร์จะทำกำไรได้ 10,000 ดอลลาร์ (1,800 – 1,700) x 100 = 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- การเทรดหลักประกัน (Margin Trading): ถ้าเทรดเดอร์เชื่อว่าราคาน้ำมันจะเพิ่มขึ้น เทรดเดอร์จะเปิดการเทรด CFD ด้วยหลักประกันโดยการซื้อน้ำมัน 1,000 บาร์เรลในราคา 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยมีมูลค่าหลักประกัน 10% หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทรดเดอร์จะทำกำไรได้ 10,000 (60 ดอลลาร์ – 50 ดอลลาร์) x 1,000 = 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
การเทรดที่ขาดทุน
การเทรดสถานะขาย (Short Trade): ถ้าเทรดเดอร์ CFD เชื่อว่าราคาทองคำจะลดลง เทรดเดอร์จะเปิดการเทรด CFD โดยขายทองคำ 100 ทรอยออนซ์ที่ราคา 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ถ้าราคาทองคำเพิ่มขึ้นเป็น 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ เทรดเดอร์จะต้องขาดทุน 10,000 ดอลลาร์ (1,900 – 1,800) x 100 = 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
การเลือกโบรกเกอร์ CFD
การเลือกโบรกเกอร์ CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเทรดเดอร์ เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจ รายการด้านล่างนี้คือปัจจัยที่ควรพิจารณา
- เมื่อเลือกโบรกเกอร์ CFD สิ่งสำคัญคือต้องมองหาบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีใบอนุญาต สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าโบรกเกอร์ได้รับอนุญาตและอยู่ภายใต้ดูแลของหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาล เช่น FCA (Financial Conduct Authority) ในสหราชอาณาจักร FSC (Financial Services Commission) ในมอริเชียส หรือ ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ในออสเตรเลีย เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้รับรองว่าโบรกเกอร์ปฏิบัติตามกฎและแนวทางที่เข้มงวดเพื่อปกป้องเงินทุนของนักลงทุนและรับรองแนวทางปฏิบัติในการเทรดที่ยุติธรรม
- ปัจจัยสำคัญอีกประการที่ต้องพิจารณาคือแพลตฟอร์มการเทรดของโบรกเกอร์ แพลตฟอร์มควรมีความครอบคลุมและมีเครื่องมือและคุณสมบัติการใช้งานที่หลากหลายเพื่อช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจโดยอิงจากข้อมูลได้ ซึ่งอาจรวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค ข้อมูลการตลาดตามแบบเรียลไทม์ และความสามารถในการวิเคราะห์กราฟ
- การพิจารณาค่าธรรมเนียมและสเปรดของโบรกเกอร์เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน โดยทั่วไป โบรกเกอร์ผู้ให้บริการเทรด CFD ต่างๆ จะเรียกเก็บค่าสเปรด ซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ (Bid Price) และราคาเสนอขาย (Ask Price) ของสินทรัพย์ ยิ่งค่าสเปรดต่ำก็ยิ่งดีสำหรับเทรดเดอร์ โบรกเกอร์บางรายเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสำหรับบริการบางอย่าง เช่น ค่าธรรมเนียมการถือคำสั่งซื้อขายข้ามคืน หรือค่าธรรมเนียมการไม่ใช้งานบัญชี สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบตารางค่าธรรมเนียมของโบรกเกอร์อย่างรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจว่าเหมาะสมและสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรม
- อีกข้อที่สำคัญคือคุณต้องพิจารณาความพร้อมในการสนับสนุนลูกค้า (Customer Service) เนื่องจากโบรกเกอร์ CFD ที่ดีควรให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ มองหาโบรกเกอร์ที่มีช่องทางการสื่อสารหลายช่องทาง เช่น อีเมล โทรศัพท์ และไลฟ์แชท
แพลตฟอร์มเทรด CFD
Hantec Markets นำเสนอเครื่องมือการเทรดที่ครอบคลุมสำหรับทั้งแพลตฟอร์ม MT4 และ MT5 รวมถึงกราฟที่จำเป็นทั้งหมด ด้วยความสามารถในการซื้อขาย CFD ของหุ้น ดัชนี และตราสารทางการเงินต่างๆ Hantec Markets ทำให้การจัดการการซื้อขายของคุณเป็นเรื่องง่าย ซอฟต์แวร์ที่อัปเดตบน เมต้าเทรดเดอร์ (MetaTrader) ช่วยให้ทำการวิเคราะห์ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แอปพลิเคชัน Hantec Markets Trading ยังรองรับการใช้งานสำหรับผู้ใช้มือถือ ซึ่งช่วยให้คุณเข้าถึงตลาดและข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินตามเวลาจริงได้จากทุกที่

กลยุทธ์การเทรดที่หลากหลาย
กลยุทธ์การเทรดหมายถึงแนวทางที่เทรดเดอร์ใช้เพื่อเข้าและออกจากการเทรดในตลาดการเงิน มีวิธีการเทรดที่แตกต่างกันหลายวิธีที่นักเทรดสามารถใช้ได้ แต่ละวิธีต่างมีข้อดีและข้อเสียของตัวเอง วิธีการเทรดที่พบได้ทั่วไป ได้แก่
เดย์เทรด (Day Trade): เดย์เทรดเป็นวิธีการที่เทรดเดอร์เปิดและปิดการเทรดภายในวันทำการเดียวกัน เทรดเดอร์รายวันมักจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคและเครื่องมือสร้างกราฟเพื่อระบุการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นและใช้ประโยชน์จากมัน ข้อดีของ Day Trade คือ ช่วยให้เทรดเดอร์ใช้ประโยชน์จากการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้นได้ แต่มีความเสี่ยงสูงและต้องใช้เวลาและความใส่ใจอย่างมาก
การเทรดแบบถือสถานะ (Position Trading): การเทรดแบบถือสถานะเป็นวิธีการเทรดระยะยาว ซึ่งเทรดเดอร์จะเปิดสถานะไว้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน เทรดเดอร์แบบถือสถานะ (Position Trader) มักจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและตัวบ่งชี้ทางเทคนิคเพื่อระบุแนวโน้มระยะยาวและทำกำไรจากข้อมูลเหล่านี้ การเทรดแบบถือสถานะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการเทรดแบบรายวัน แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่นานขึ้นและความสามารถในการอดทนต่อความผันผวนของตลาดที่มากขึ้น
การเทรดแบบสวิง (Swing Trading): สวิงเทรดเป็นวิธีการพยายามจับความเคลื่อนไหวของราคาในระยะกลาง โดยทั่วไปจะเปิดสถานะไว้เป็นเวลาสองสามวันถึงสองสามสัปดาห์ เทรดเดอร์แบบสวิงเทรดใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคและการสร้างกราฟเพื่อระบุรูปแบบราคาและแนวโน้ม การเข้าและออกจากการเทรดตามรูปแบบนั้น Swing Trade คือความสมดุลระหว่างการเทรดแบบเดย์เทรดและการเทรดแบบถือสถานะ โดยการเทรดลักษณะนี้มีความเสี่ยงในระดับปานกลางและระยะเวลาที่เหมาะสม
การเทรดระยะสั้น (Scalping): Scalping เป็นกลยุทธ์การเทรดที่มีความถี่สูง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเล็กน้อย Scalpers จะเข้าและออกจากการเทรดอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะถือออเดอร์เพียงไม่กี่วินาทีหรือไม่กี่นาที การเทรดแบบ Scalping ต้องใช้ทักษะ สมาธิ และระเบียบวินัยในระดับสูง รวมถึงการดำเนินการส่งคำสั่งซื้อขายที่รวดเร็วและระบบคอมพิวเตอร์หรือการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มีความล่าช้าน้อยมาก
เยี่ยมชมโพสต์ 5 สุดยอดกลยุทธ์การเทรด บนแพลตฟอร์มของเราเพื่อศึกษาข้อมูลเรื่องกลยุทธ์การเทรดเพิ่มเติม
ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับ CFDs คืออะไร
การเทรด CFDs มีความเสี่ยงบางประการ เช่นเดียวกับการเทรดรูปแบบอื่นๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้:
ความเสี่ยงจากเลเวอเรจ (Leverage Risk): เทรดเดอร์มักเทรด CFDs โดยใช้หลักประกัน หมายความว่าเทรดเดอร์สามารถควบคุมสถานะขนาดใหญ่ได้ด้วยเงินทุนจำนวนค่อนข้างน้อย ซึ่งสามารถเพิ่มผลกำไรที่เป็นไปได้ แต่อาจเพิ่มโอกาสในการขาดทุนเช่นกัน
ความเสี่ยงจากตลาด (Market Risk): CFDs อยู่ภายใต้สภาวะตลาดเดียวกันกับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ราคาเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วตามข่าวและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งหมายความว่าเทรดเดอร์ขาดทุนได้อย่างรวดเร็วหากตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะตลาดได้ไม่ทันท่วงที
ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk): CFDs ไม่มีการเทรดในตลาดแลกเปลี่ยนกลาง สภาพคล่องของแต่ละตลาดอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของวันและปัจจัยอื่นๆ ซึ่งหมายความว่าการเข้าหรือออกจากการเทรดในราคาที่ต้องการอาจเป็นเรื่องยาก ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดทุนได้
ความเสี่ยงจากคู่สัญญา (Counterparty Risk): โดยทั่วไปแล้ว CFDs จะเทรดผ่านตัวกลาง เช่น โบรกเกอร์ หากโบรกเกอร์ล้มละลายหรือไม่สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันได้ เทรดเดอร์อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินลงทุน
ความเสี่ยงจากกฎระเบียบ (Regulatory Risk): CFDs ไม่ได้รับการควบคุมในหลายประเทศ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงจากการฉ้อโกงหรือการหลอกลวง
ความเสี่ยงเมื่อจุดตัดขาดทุนไม่ทำงาน (Slippage): คำสั่งหยุดการขาดทุน (Stop Loss) ใช้เพื่อจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น แต่ในตลาดที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ราคาที่เรียกใช้คำสั่งหยุดการขาดทุนอาจแตกต่างอย่างชัดเจนจากราคาที่ตั้งใจไว้ ซึ่งนำไปสู่การขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้
เครื่องมือจัดการความเสี่ยงใน CFDs
จุดตัดขาดทุน (Stop-Loss)
จุดตัดขาดทุนเป็นเครื่องมือจัดการความเสี่ยงที่ใช้ในการเทรด CFD เพื่อจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น ในการเทรด CFD ของสกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์ คำสั่งหยุดการขาดทุนจะวางไว้เพื่อปิดการเทรดโดยอัตโนมัติเมื่อตลาดถึงระดับราคาหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้เป็นจุดขาดทุนที่สำคัญสำหรับเทรดเดอร์ คำสั่งนี้ช่วยให้เทรดเดอร์จำกัดการขาดทุนและปกป้องเงินทุนในการเทรดได้

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเทรดเดอร์ออกคำสั่งซื้อ (Buy) CFD สกุลเงินที่ราคา 1.2000 โดยกำหนดจุดตัดการขาดทุน (SL) ที่ 1.1900 หากตลาดเคลื่อนไหวสวนทางกับเทรดเดอร์และสกุลเงินแตะที่ราคา 1.1900 คำสั่งหยุดการขาดทุนจะปิดการเทรดโดยอัตโนมัติ โดยจำกัดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นของเทรดเดอร์ไว้ที่ 100 จุด
การป้องกันยอดคงเหลือติดลบและการปิดหลักประกัน
การป้องกันยอดคงเหลือติดลบ (Negative Balance Protection) เป็นคุณสมบัติจัดการความเสี่ยงที่ทำให้มั่นใจได้ว่ายอดคงเหลือในบัญชีของเทรดเดอร์ต้องไม่ต่ำกว่าศูนย์ ซึ่งหมายความว่า แม้ว่ามูลค่าของสถานะที่เปิดของเทรดเดอร์จะต่ำกว่าศูนย์ เทรดเดอร์ไม่ต้องรับผิดชอบต่อการขาดทุนเพิ่มเติมใดๆ
การปิดหลักประกัน (Margin Closeout): คุณสมบัตินี้จะปิดสถานะที่เปิดอยู่ของเทรดเดอร์โดยอัตโนมัติเมื่อระดับหลักประกันต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นี่เป็นการทำเพื่อปกป้องเทรดเดอร์จากการขาดทุนเพิ่มเติม และเพื่อจำกัดไม่ให้เกิดสภาวะยอดคงเหลือติดลบ
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเทรดเดอร์เทรดสกุลเงินโดยใช้แพลตฟอร์ม CFD (สัญญาซื้อขายส่วนต่าง) เทรดเดอร์มียอดเงินในบัญชี 10,000 ดอลลาร์และกำลังเทรดสถานะ CFD มูลค่า 100,000 ดอลลาร์ มูลค่าหลักประกันสำหรับสถานะนี้คือ 5% หมายความว่าเทรดเดอร์ต้องรักษาระดับหลักประกันอย่างน้อย 5% ในบัญชีของตัวเอง
หากค่าของสกุลเงินลดลงอย่างมาก ยอดเงินในบัญชีของเทรดเดอร์อาจลดลงเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้ยอดคงเหลือติดลบ แต่ด้วยการป้องกันยอดคงเหลือติดลบ ยอดเงินในบัญชีของเทรดเดอร์จะได้รับการปกป้องและจะไม่ลดลงไปต่ำกว่าศูนย์
นอกจากนี้ หากระดับหลักประกันต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด แพลตฟอร์มจะปิดสถานะที่เปิดอยู่ของเทรดเดอร์โดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการขาดทุนเพิ่มเติม
การป้องกันความเสี่ยง (Hedging)
กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงใช้เพื่อทุเลาการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในตลาดการเงินหรือไม่ วิธีหนึ่งที่นิยมในการป้องกันความเสี่ยง คือ การใช้สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (CFD) กับสกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์
เมื่อทำการเทรดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความผันผวนของสกุลเงินอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญต่อนักลงทุน ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนถือสถานะขนาดใหญ่ในสกุลเงินต่างประเทศและมูลค่าของสกุลเงินนั้นลดลงอย่างกะทันหัน นักลงทุนอาจประสบกับการขาดทุนจำนวนมาก นักลงทุนสามารถใช้ CFDs ในการลงทุนในสกุลเงิน เพื่อป้องกันสถานะของตนและชดเชยการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
ในทำนองเดียวกัน เมื่อทำการเทรดในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ความผันผวนของราคาอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงที่สำคัญได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากนักลงทุนถือสถานะขนาดใหญ่ในสินค้าโภคภัณฑ์และราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ตกลงอย่างกะทันหัน นักลงทุนอาจประสบกับการขาดทุนจำนวนมาก นักลงทุนสามารถใช้ CFDs ในการลงทุนกับสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อป้องกันสถานะของตนและชดเชยการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นได้
โดยสรุป นักลงทุนสามารถใช้การป้องกันความเสี่ยง (Hedging) ด้วย CFDs เป็นกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพสำหรับสกุลเงินและสินค้าโภคภัณฑ์ เพื่อลดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในตลาดเหล่านี้ สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า การป้องกันความเสี่ยง (Hedge) ไม่ได้รับประกันผลกำไร และต้องปรึกษากับที่ปรึกษาทางการเงินก่อนดำเนินการ
สร้างบัญชีเทรด
หากต้องการเริ่มเทรด CFD กับ Hantec Markets คุณจะต้องเปิดบัญชีก่อน คุณสามารถเลือกเปิดบัญชีจริง (Live Account) ซึ่งคุณสามารถฝากเงินและเทรดในตลาดการเงินด้วยเงินจริง หรือเปิดบัญชีทดลอง (Demo Account) เพื่อฝึกฝนการเทรด CFD ด้วยเงินเสมือนจริงได้ คลิกที่ลิงก์ดังกล่าวเพื่อเปิดบัญชีเทรดของคุณ https://www.hmarkets.mu/th/live-account-pre-registration/